วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

         กิดานันท์ มลิทอง ( 2540 ; 285 ) ได้กล่าวว่า รูปแบบของสื่อหลายมิติได้ว่า มีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

            - การสอนใช้คอมพิวเตอร์ (CAI )

            - แผ่นวีดีทัศน์ชิงโต้ตอบ

            - การสอนบนเว็บ ( Web – based Instruction )

            - ความเป็นจริงเสมือน

           - ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ



        บรรณานุกรม

        กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.2543.พิมพ์ครั้งที่ 2.จุฬา,
                      กรุงเทพฯ

สื่อประสม คืออะไร

        ( Roblyer, 2003, p.164 ) กล่าวว่า สื่อประสม หมายถึง สื่อหลายอย่าง หรือการรวมกันของสื่อ สื่อเหล่านี้อาจได้แก่ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพ
แอนิเมชั่น และ/หรือ ข้อความที่นำมาใช้ร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

        www.kroobannok.com/blog/1916 กล่าวว่า สื่อประสม คือ บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรมแบบไม่แยกกรอบ เป็นบทเรียนที่เสนอเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับขั้น มีคำถามและเฉลยหรือแนวในการตอบคำถามไว้ให้ตรวจสอบได้ทันทีไม่เสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบ แต่เสนอเนื้อหาเป็นลำดับต่อเนื่องกัน เช่นเดียวกับการเขียนบทความหรือตำราแตกต่างกัน เพียงว่า บทเรียนประเภทนี้จะต้องมีคำตอบหรือแนวคำตอบไว้ให้ผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนว่าคำตอบของตนถูกหรือผิด ซึ่งเป็นการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนเมื่อผู้เรียนตอบถูกต้องนั่นเอง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยสื่อตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ได้แก่ สไลด์ วีดิทัศน์ ของจริง แผนภูมิภาพ เป็นต้นและการใช้บทเรียนสื่อประสมใช้ได้ทั้งศึกษาเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม

        ( Vaughan, 2004, chapter ) กล่าวว่า สื่อประสม คือการรวมกันของข้อความ ภาพศิลปะ เสียงภาพแอนิเมชั่นและวีดิทัศน์ ที่ถูกส่งไปโดยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเพื่อใช้ในการนำเสนอเรื่องราวที่สร้างความตื่นเต้นกระตุ้นความคิดและการกระทำของมนุษย์


         สรุปได้ว่า

        สื่อประสม หมายถึงการใช้สื่อหลายอย่างร่วมกันได้แก่ ตัวอักษร ข้อความ ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพแอนิเมชั่น และเสียง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอควบคุมโปรแกรม



         บรรณานุกรม

  http://www.edu.buu.ac.th/iournal/.../Link_Jounalíu_18_1_3.pdf-
 www.kroobannok.com/blog/1916

สื่อการสอน คืออะไร

        วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ ( 2543 : 18 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่การเรียน สื่อแต่ละชนิดจะมีคุณค่าและคุณสมบัติพิเศษในตัวเอง สามารถแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหา และเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

        สมพร จารุนัฎ ( 2540 : 2 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ สิ่งที่นำเสนอสิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้เกิดการเรียนแก่ผู้เรียน

         รัฐกรณ์ คิดการ ( 2543 : 40 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ ตัวกลางที่จะช่วยนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ไปสู่ผู้เรียน ช่วยอธิบายขยายความเข้าใจบทเรียนได้ง่าย จนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

        เปรื่อง กุมุท ( 2519 : 1 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี

       มนตรี แย้มกสิกร ( 2537 : 5 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ ตัวกลางที่ช่วยในการนำเสนอความรู้จากการสอน หรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤตติกรรมตามที่ต้องการ

       อธิพร ศรียมก ( 2523 : 64 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ อะไรก็ได้ ( ที่ไม่ใช่ครูพูดปากป่าวเพียงอย่างเดียว ) ที่ทำให้การเรียน การสอนเป็นไปอย่างสนใจ สนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

       สมบูรณ์ สงวนญาติ ( 2534 : 42 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีสอน และกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ

        กิดานันท์ มลิทอง ( 2540 : 79 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรลุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนใช้เป็นสิ่งที่ส่งช่องทางสำหรับส่งให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน สามารถเกิดการเรียนรู้ตามประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างดี

        ชัยยงค์ พรหมวงค์ ( 2539 : 86 ) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ กระบวนสื่อการเรียนการสอนเป็นสื่อสารที่เน้น การถ่ายทอดความคิดและประสบการณ์ระหว่างสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้นในผู้เรียนหรือผู้รับสาร


          สรุปได้ว่า

          สื่อการสอน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนนำมาใช้ในการเรียนสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ



         บรรณานุกรม

     ผ.ศ.ดร.ชาญชัย ยมดิษฐ์.เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย.2548,417หน้า

     สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย.เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษาเล่ม 1.
                  โรงพิมพ์สหมิตร จำกัด.2523,298หน้า

    เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษาเล่ม 2.โรงพิมพ์สหมิตร จำกัด.2523,446หน้า

    เปรื่อง กุมุท.การวิจัยสื่อและนวกรรมการสอน.2519,141 หน้า

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

         - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

         - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

         - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้นข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

         - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

        - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก



       บรรณานุกรม

        http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

          http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

         http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity1/c2-3.htm กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

         http://www.siit.tu.ac.th/thai/it.html กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที

        http://learners.in.th/blog/mooddang/256432 กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลและเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม

        http://www.kkw.aac.th/kkwweb/teacherhead/webpookie/pensil/lessonl.htm กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น และรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวมจัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟแวร์ ข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด


           สรุปได้ว่า

           เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งควบคุมถึงการรับ – ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวล ในการประยุกต์ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์ , การสื่อสาร และ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย



           บรรณานุกรม

 http://learners.in.th/blog/mooddang/256432
http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html
http://www.kkw.aac.th/kkwweb/teacherhead/webpookie/pensil
           /lessonl.htm
http://www.siit.tu.ac.th/thai/it.html
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity1/c2-3.htm

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

         Heinich และคณะ ( Heinich,and Other,1982 : 8 ) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี ไว้ดังนี้
    1. เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นกระบวนการ ( Technology as process ) เป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ หรือจัดความรู้อย่างมีระบบเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
    2. เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นผลผลิต ( Technology as product ) หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ ( Hardwere ) หรือ วัสดุ ( Softwere ) ที่เป็นผลผลิตจากการใช้กระบวนการด้านเทคโนโลยี เช่น สิ่งพิมพ์
    3. เทคโนโลยีในฐานะที่ผสมผสานทั้งกระบวนการและผลผลิต หมายถึง
        ก. การผสมผสานของกระบวนการกับผลผลิต เช่น เทคโนโลยีในระบบการส่งข้อมูลให้การกระจายออกไป ซึ่งต้องใช้ทั้งกระบวนการ และเครื่องมือที่เป็นผลผลิต

        ผดุงยศ ดวงมาลา ( 2523 : 16 ) ได้ให้ ความหมายของเทคโนโลยีว่ามี หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

        ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ ( 2531 : 170 ) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

       สิปปนนท์ เกตุทัต ( ม.ป.ป. 81 ) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

        ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ ( 2534 : 5 ) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ

         เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดผลเป็นสิ่งที่วัดได้ หรือจับต้องได้ เทคโนโลยีจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเทคโนโลยีจึงถูกกำหนดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่มีราคาซื้อขายกันในตลาด

        http://giftza97.blogspot.com/2009/02/blog-post.html กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และ ความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


      สรุปได้ว่า

         เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์


      บรรณานุกรม

      วาสนา ชาวหา.เทคโนโลยีทางการศึกษา.สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต.2525
    
     วารินทร์ รัศมีพรหม.เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย.พิมพ์ครั้งที่1 .
                  กรุงเทพฯ,2531
    
     สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย.เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษาเล่ม 1.
                 โรงพิมพ์สหมิตร จำกัด.2523
    
     หนังสือเอกสารวิชาการ นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี:วิวัฒนาการและ
                 การจัดการ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน

     http://arc.rint.ac.th/center/pongsakle_...it4_2.html


     http://giftza97.blogspot.com/2009/02/blog-post.html

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

           บุญเกื้อ ครวญหาเวช ( 2517 ) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่ง
          นวัตกรรมทางการศึกษา ( หน้า 14 : นวกรรม ) หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมโดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         http://giftza97.blogspot.com/2009/02/blog-post.html กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการ ปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

         http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1 กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร

        รูฮายา ( 2550 ) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำความคิดใหม่ ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบ จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น


        สรุปได้ว่า

           นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการปรับปรุงส่งเสริมคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


        บรรณานุกรม

         ถาวร สายสืบ.นวกรรมและเทคโนโลยีทางการสอน.พิษณุโลก:
                     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2524

        สาโรช โศภีรักษ์.นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ:
                      บุ๊คพอยท์,2546

       http://giftza97.blogspot.com/2009/02/blog-post.html


       http://learners.in.th/blog/ruhaya/38252


       http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1

     

นวัตกรรม คืออะไร

          โทมัส ฮิวส์ (Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

           http://learners.in.th/blog/22631/235365 กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น


          สวัสดิ์ บุษปาคม ( 2517 ) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การปฏิบัติหรือกรรมวิธี ที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการกระทำการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


          สุภากร ราชากรกิจ ( 2537 : 59 ) กล่าวว่า นวัตกรรม เป็นการปฏิบัติหรือกรรมวิธี ที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง วิธีทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม


          บุญเกื้อ ควรหาเวธ ( 2542 : 12 ) กล่าวว่า นวัตกรรม คือ นำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น


           http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1 กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึงเครื่องมือ สื่อ หรือวิธีการใหม่ๆ ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่ หรือดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้ว จากที่อื่นและนำมาใช้อีก ก็ถือว่าเป็น “นวัตกรรม”

          นวัตกรรม หมายถึง การกระทำหรือการคิดใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ

         ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( ไม่ระบุ ) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น


         สรุปได้ว่า

          นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในระบบการทำงาน การนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขี้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อพัฒนาไปสู่การมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมจะต้องมีการคิดค้นและพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับงานของแต่ละด้านนั้น ๆ

       บรรณานุกรม
       ถาวร   สายสืบ.นวกรรมและเทคโนโลยีทางการสอน.พิษณุโลก:
                 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2524
       สมบูรณ์   สงวนญาติ.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ,2543
       สาโรช   โศภีรักษ์.นวัตกรรมการสอนที่ยึดผุ้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ :
                   บุ๊คพอยท์,2546 .148 หน้า
       http://gotoknow.org/blog/9nuqa/11973
       http://learners.in.th/blog/22631/235365
       http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร

           ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่รู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างเพียงพอ ให้อิสระและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง

           ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือมนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนเองและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุ

           ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) ความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้าการเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุด เมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน

           ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระ นั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

           ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) แนว คิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้
              ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)

              ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
               
              ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
          
               ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่ (Presenting the stimulus)

               ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ (Providing learning guidance)

               ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ (Eliciting the performance)

               ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

               ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (Assessing the performance)

               ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Enhancing retention and transfer)


       บรรณานุกรม
             http : //www.csjoy.com/story/net/tne.htm#b

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

        "ทฤษฎีการเรียนรู้"ว่า เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จากการได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้เป็นผู้สร้างเงื่อนไข สถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ส่วนหลักการสอน คือ แนวคิดที่เป็นหลักของการปฏิบัติทางการสอนที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ

          อาจารย์ชวนันท์ ชาญศิลป์ กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้ ว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอันเนื่องมาจากการเผชิญสถานการณ์ โดยเฉพาะสถานการณ์ซ้ำ ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นสัญชาติญาณ หรือเป็นส่วนพัฒนาการโดยปกติ

          สรุปได้ว่า

          "ทฤษฎีการเรียนรู้" เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน และเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร


         บรรณานุกรม


          http://blog.bnn.ac/blong/learning


         http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm#b